การรับน้อง
รับน้อง หรือ กิจกรรมต้อนรับนักเรียนหรือนักศึกษาใหม่ คือ กิจกรรมที่นิสิตรวมถึงนักศึกษาหรือนักเรียนรุ่นพี่ จัดขึ้นสำหรับ นักศึกษาใหม่ที่เข้ารับการศึกษา เป้าหมายเพื่อทำให้นักศึกษาที่เข้าใหม่ได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ของสถานศึกษานั้น และเรียนรู้วิธีการประพฤติปฏิบัติตัวในสังคมสถานศึกษานั้น ในขณะเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาจากการประพฤติตัว ไม่เหมาะสมของรุ่นพี่ในการใช้อำนาจที่ไม่ถูก ทำให้มีการถกเถียงกันในสังคมไทย
ในหลายสถาบันได้มีการจัดการรับน้องภายในช่วงระหว่างเปิดการศึกษา ตั้งแต่ช่วงก่อนเปิดการศึกษาจนถึงหนึ่งเดือนภายหลังจากวันแรกที่เปิดการศึกษา
ประวัติการรับน้องในประเทศไทย
ประวัติการรับน้องในประเทศไทย
ประวัติรับน้องในประเทศไทยเริ่มจากในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระหว่างคณะแพทยศาสตร์กับคณะวิทยาศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2474 ได้มีเหตุการณ์ไม่งามเกิดขึ้น คือ แบ็คของคณะแพทยศาสตร์ได้ถูกผู้เล่นในทีมตรงข้ามวิ่งเข้าต่อย ซึ่งสโมสรสาขาศิริราชสืบทราบว่าได้มีการตระเตรียมวางแผนการไว้ก่อนแล้ว จึงได้ส่งหลักฐานฟ้องร้องไปทางสโมสรกลางให้จัดการลงโทษ แก่ผู้กระทำผิดนั้น ต่อมา ได้มีการพิจารณาและไต่สวนกันหลายครั้ง แต่ในที่สุดบรรยเวกษ์ก็ได้อะลุ่มอล่วยให้เลิกแล้วกันไป นิสิตแพทย์ส่วนมากไม่พอใจ เนื่องด้วยนิสสิตคณะวิทยาศาสตร์บางส่วนจะต้องข้ามมาเรียนปีสองที่คณะแพทยศาสตร์ จึงได้มีเสียงหมายมั่นจะแก้มือด้วยประการต่าง ๆ ซึ่งไม่ต้องสงสัยว่าจะต้องรู้ไปถึงหูพวกที่เป็นต้นเหตุนั้น แต่ครั้นใกล้เวลาที่พวกใหม่จะต้องมาเรียนที่ศิริราช คณะกรรมการสโมสรสาขาศิริราชได้มีความเห็นว่า การแก้แค้นจะทำให้แตกความสามัคคี ดังนั้นชาวศิริราชจึงได้ตกลงเลือกทางกุศล คือ แทนที่จะใช้วิธีการบีบบังคับให้ขอขมา กลับจัดการเลี้ยงต้อนรับเป็นการแสดงการให้อภัยและเชื่อมความสามัคคีแทน
เหตุผลของการรับน้อง
สาเหตุเริ่มต้นของการรับน้อง เกิดจากที่นักศึกษาที่เข้าเรียนในสถานศึกษาแห่งใหม่ จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรวมถึงเรื่องราวของสถานศึกษานั้น การเตรียมตัวการเรียนและมารยาทต่างๆในสถานศึกษา การรับน้องเกิดขึ้นเพื่อให้ นักศึกษาใหม่ได้คุ้นเคยและทำความรู้จักกับรุ่นพี่ ที่จะสามารถสอนวิธีการปฏิบัติตัวในสังคมได้ การรับน้องถือเป็นกิจกรรมทีมีประโยชน์ในอดีตอย่างน้อยต่อรุ่นน้องให้ได้รู้จักรุ่นพี่ นอกจากนี้ยังทำให้ทุกคนรู้รักสามัคคีกัน รู้จักปรับตัว รู้จักการวางตัว รวมทั้งกิริยามารยาทที่ควรปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น